คำแนะนำเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์
โดยทั่วไปแล้วหลายๆท่านคิดว่าตราบใดที่ยังสตาร์ทรถติด ก็ยังไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ จึงนำมาซึ่งปัญหาหลายอย่าง เมื่อวันดีคืนดีรถเกิดสตาร์ทไม่ติด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็คือ พ่วงแบตจากรถคนอื่น เป็นวิธีที่สุดฮิต แต่ถ้าไม่มีรถใครให้พ่วงหละ ก็คงต้องโทรเรียกให้ช่างเข้ามาเปลี่ยนให้ ซึ่งเราก็จะต้องเสียค่าวิ่งให้ช่างอีก แทนที่จะเสียแค่ค่าแบตอย่างเดียว ถ้าเป็นวันหยุดก็คงไม่เครียดอะไรมาก แต่ถ้าเป็นวันที่ต้องขับรถไปทำงานกลายเป็นว่าต้องไปทำงานสายเลยก็มี หรือแม้แต่ในกรณีอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะหันมาใส่ใจกับแบตเตอรี่รถยนต์ขึ้นมาอีกนิด เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
โดยทั้วไปแล้วแบตเตอรี่รถยนต์ จะทำงานเต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา เพราะแบตเตอรี่กำลังทำงานในขณะที่
1.เปิดไฟหน้ารถ
2.เปิดเครื่องปรับอากาศ
3.สตาร์ทรถยนต์
4.ฟังวิทยุหรือซีดี หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
ชนิดของแบตเตอรี่ในรถยนต์
แบตเตอรี่ที่มีขายกันในท้องตลาดที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปพอจะแยกได้เป็น ๒ ชนิดคือ
๑. แบตเตอรี่แห้งคือแบตเตอรี่ที่ไม่ต้องน้ำกลั่นนั่นแหละครับ หลายๆคนยังเข้าใจว่าแบตเตอรี่แห้งคือมันแห้งจริงๆ แต่ความจริงแล้วแบตแห้งที่นำมาใช้กับรถยนต์ยังคงมีประเภทที่มีของเหลวอยู่ภายในไม่ว่าจะเป็นแบบตะกั่ว-กรดที่ใช้แคดเมี่ยมและตะกั่วในแผ่นเซลล์หรือพวกที่ใช้สารละลายอัลคาไลน์หรือที่รู้จักกันในชื่อนิเกิล-แคทเมี่ยมนั่นเอง แต่ที่นิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากคือแบบตะกั่ว-กรดเพราะมีราคาถูกกว่า
-ข้อดีคือไม่ต้องเติมน้ำกลั่น-สะดวกต่อการใช้งาน-การปล่อยทิ้งไว้ในสภาพไม่มีไฟประจุสามารถอยู่ได้ในระยะเวลาที่นานกว่าแบตธรรมดา-ปริมาณแก๊สที่เกิดขึ้นจากปฎิกริยาทางเคมีภายในมีน้อย
-ข้อที่ไม่ค่อยดีนักคือราคาแพงกว่าแบตธรรมดา-เป็นระบบปิดที่มีรูหายใจแบบทางเดินทางเดียวขนาดเล็กถ้ามีการอุดตันอาจจะเกิดปัญหาด้านแรงดันภายในหรือความร้อนโดยเฉพาะระบบประจุที่รุนแรงเนื่องจากเกิดปัญหาในระบบการประจุ-แบตเตอรี่แบบที่ปิดผนึกแบบไม่ใช้อีเล็กโตรไลท์ถ้าซิลของช่องหายใจเกิดหลุดจะเกิดการเสียหายเนื่องจากมีความชื้นเข้าไป
๒. แบตเตอรี่ที่ต้องเติมน้ำกลั่น โครงสร้างมันก็เหมือนกับแบตแห้งนั่นแหละเพียงแต่มันใช้อีเล็กโตรไลท์หรือกรดซังฟุริคเจือจางด้วยน้ำกลั่นบรรจุอยู่เพราะจะว่ากันตามจริงแล้วแบตเตอรี่แบบแห้งและแบบที่ต้องเติมน้ำกลั่นมันก็ต่างกันแค่วัสดุที่ใช้ทำแผ่นธาตุเท่านั้นเอง
-ข้อดีคือราคาถูก-ทนทานต่อการรับโหลดทั้งการประจุและคายประจุ
-ข้อที่ไม่ค่อยดีนักคือการรั่วหกของสารละลายจากภายในที่มีส่วนผสมของกรดสามารถทำลายสีของรถได้-ต้องคอยดูแลการประจุและการเติมน้ำกลั่นอยู่เสมอไม่ว่าจากการระเหยหรือการรั่วหก
ชนิดของแบตเตอรี่ในรถยนต์
แบตเตอรี่ที่มีขายกันในท้องตลาดที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปพอจะแยกได้เป็น ๒ ชนิดคือ
๑. แบตเตอรี่แห้งคือแบตเตอรี่ที่ไม่ต้องน้ำกลั่นนั่นแหละครับ หลายๆคนยังเข้าใจว่าแบตเตอรี่แห้งคือมันแห้งจริงๆ แต่ความจริงแล้วแบตแห้งที่นำมาใช้กับรถยนต์ยังคงมีประเภทที่มีของเหลวอยู่ภายในไม่ว่าจะเป็นแบบตะกั่ว-กรดที่ใช้แคดเมี่ยมและตะกั่วในแผ่นเซลล์หรือพวกที่ใช้สารละลายอัลคาไลน์หรือที่รู้จักกันในชื่อนิเกิล-แคทเมี่ยมนั่นเอง แต่ที่นิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากคือแบบตะกั่ว-กรดเพราะมีราคาถูกกว่า
-ข้อดีคือไม่ต้องเติมน้ำกลั่น-สะดวกต่อการใช้งาน-การปล่อยทิ้งไว้ในสภาพไม่มีไฟประจุสามารถอยู่ได้ในระยะเวลาที่นานกว่าแบตธรรมดา-ปริมาณแก๊สที่เกิดขึ้นจากปฎิกริยาทางเคมีภายในมีน้อย
-ข้อที่ไม่ค่อยดีนักคือราคาแพงกว่าแบตธรรมดา-เป็นระบบปิดที่มีรูหายใจแบบทางเดินทางเดียวขนาดเล็กถ้ามีการอุดตันอาจจะเกิดปัญหาด้านแรงดันภายในหรือความร้อนโดยเฉพาะระบบประจุที่รุนแรงเนื่องจากเกิดปัญหาในระบบการประจุ-แบตเตอรี่แบบที่ปิดผนึกแบบไม่ใช้อีเล็กโตรไลท์ถ้าซิลของช่องหายใจเกิดหลุดจะเกิดการเสียหายเนื่องจากมีความชื้นเข้าไป
๒. แบตเตอรี่ที่ต้องเติมน้ำกลั่น โครงสร้างมันก็เหมือนกับแบตแห้งนั่นแหละเพียงแต่มันใช้อีเล็กโตรไลท์หรือกรดซังฟุริคเจือจางด้วยน้ำกลั่นบรรจุอยู่เพราะจะว่ากันตามจริงแล้วแบตเตอรี่แบบแห้งและแบบที่ต้องเติมน้ำกลั่นมันก็ต่างกันแค่วัสดุที่ใช้ทำแผ่นธาตุเท่านั้นเอง
-ข้อดีคือราคาถูก-ทนทานต่อการรับโหลดทั้งการประจุและคายประจุ
-ข้อที่ไม่ค่อยดีนักคือการรั่วหกของสารละลายจากภายในที่มีส่วนผสมของกรดสามารถทำลายสีของรถได้-ต้องคอยดูแลการประจุและการเติมน้ำกลั่นอยู่เสมอไม่ว่าจากการระเหยหรือการรั่วหก
แบตเตอรี่รถยนต์จะเสื่อมลงตามเวลาซึ่งเกิดจากการชาร์จและจ่ายพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ใช่เฉพาะความถี่ในการใช้งาน หรือระยะทางที่ขับ แต่ยังขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานรถและสภาพแวดล้อมขณะขับขี่
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ทำงานหนักขึ้น!!
ขับรถอยู่ดีๆรูปแบตเตอรี่ที่หน้าปัดติดขึ้นมาทำไงดี
แม้ว่ารูปแบตเตอรี่บนหน้าปัดนั้นไม่ได้หมายถึงแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงระบบการประจุหรือไดชาจน์ด้วย แถมรถบางรุ่นยังพ่วงเรื่องการทำงานของอุปการณ์ไฟฟ้าทั้งระบบเข้ามาอีก แต่เมื่อได้ก็ตามที่บิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ติดแล้วไฟรูปแบตเตอรี่ไม่ดับหรือกระพริบหรือขับรถอยู่ไฟมันติดหรือกระพริบขึ้นมาโอกาสที่สาเหตุจะเกิดกับตัวแบตเตอรี่นั้นมีมากกว่าตัวอื่น รองลงไปเป็นไดชาจน์ ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ควรนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการหากอยู่ไกลจากศูนย์บริการจริงๆ ก็เข้าร้านไดนาโมทั่วๆไปโดยทันที เพราะรถของท่านอาจจะไม่สามารถเครื่องยนต์ให้ติดได้เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ก่อนที่ช่างจะวิเคราะห์หรือทำการเปลี่ยนแบตให้ท่านก็ควรแน่ใจว่าแบตตัวนั้นผ่านการใช้งานมาแล้วอย่างน้อย ๑ปี หรือ 20,000 กิโลเมตรไปแล้ว ถ้าอายุของแบตลูกนั้นเกิน ๒ ปีไปแล้วโอกาสความน่าเชื่อถือว่าแบตเตอรี่เสื่อมหรือเสียหรือเก็บไฟไม่อยู่ค่อยน่าเชื่อถือกันหน่อย ยิ่งถ้าเราเป็นคนดูแลแบตเตอรี่ที่ดีหลังจากอายุของแบตเกิน ๒ปีไปแล้วก็ควรคอยสังเกตุไฟรูปแบตเตอรี่บนหน้าปัดอยู่เสมอด้วย
แม้ว่ารูปแบตเตอรี่บนหน้าปัดนั้นไม่ได้หมายถึงแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงระบบการประจุหรือไดชาจน์ด้วย แถมรถบางรุ่นยังพ่วงเรื่องการทำงานของอุปการณ์ไฟฟ้าทั้งระบบเข้ามาอีก แต่เมื่อได้ก็ตามที่บิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ติดแล้วไฟรูปแบตเตอรี่ไม่ดับหรือกระพริบหรือขับรถอยู่ไฟมันติดหรือกระพริบขึ้นมาโอกาสที่สาเหตุจะเกิดกับตัวแบตเตอรี่นั้นมีมากกว่าตัวอื่น รองลงไปเป็นไดชาจน์ ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ควรนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการหากอยู่ไกลจากศูนย์บริการจริงๆ ก็เข้าร้านไดนาโมทั่วๆไปโดยทันที เพราะรถของท่านอาจจะไม่สามารถเครื่องยนต์ให้ติดได้เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ก่อนที่ช่างจะวิเคราะห์หรือทำการเปลี่ยนแบตให้ท่านก็ควรแน่ใจว่าแบตตัวนั้นผ่านการใช้งานมาแล้วอย่างน้อย ๑ปี หรือ 20,000 กิโลเมตรไปแล้ว ถ้าอายุของแบตลูกนั้นเกิน ๒ ปีไปแล้วโอกาสความน่าเชื่อถือว่าแบตเตอรี่เสื่อมหรือเสียหรือเก็บไฟไม่อยู่ค่อยน่าเชื่อถือกันหน่อย ยิ่งถ้าเราเป็นคนดูแลแบตเตอรี่ที่ดีหลังจากอายุของแบตเกิน ๒ปีไปแล้วก็ควรคอยสังเกตุไฟรูปแบตเตอรี่บนหน้าปัดอยู่เสมอด้วย
สารยืดอายุแบตเตอรี่
มีบ่อยๆที่มีการโฆษนาสารที่เติมเข้าไปในแบตเตอรี่ชนิดเติมน้ำกลั่นว่าสามารถยืดอายุงานของแบตเตอรี่ได้อีกจากเดิม๒-๓ปีสามารถยืดออกไปอีกเป็นปีหรือมากกว่านั้น ลองย้อนถามตัวเองนิดนึงก่อนที่จะจ่ายเงินว่า ถ้ามันยืดอายุงานได้ขนาดนั้นจริงแล้วสมมุติคุณเป็นเจ้าของโรงงานแบตเตอรี่แต่เพิ่มต้นทุนอีกเล็กน้อยแล้วเพิ่มราคาแบตเตอรี่ออกใบรับประกันอายุงานแบตเตอรี่ให้ด้วย คิดดูเองว่าแบตยี่ห้อนั้นจะโด่งดังแค่ไหน หรือลองถามคนขายดูซักนิดว่าสารที่ขายนั้นได้รับการรับรองจากสถาบันไหนในบ้านเราหรือเปล่า ถ้ามีการรับรองว่ายืดอายุงานได้จริงโดยสถาบันในบ้านเราที่ตรวจสอบได้ค่อยจ่ายเงินซื้อมาใช้ครับ
มีบ่อยๆที่มีการโฆษนาสารที่เติมเข้าไปในแบตเตอรี่ชนิดเติมน้ำกลั่นว่าสามารถยืดอายุงานของแบตเตอรี่ได้อีกจากเดิม๒-๓ปีสามารถยืดออกไปอีกเป็นปีหรือมากกว่านั้น ลองย้อนถามตัวเองนิดนึงก่อนที่จะจ่ายเงินว่า ถ้ามันยืดอายุงานได้ขนาดนั้นจริงแล้วสมมุติคุณเป็นเจ้าของโรงงานแบตเตอรี่แต่เพิ่มต้นทุนอีกเล็กน้อยแล้วเพิ่มราคาแบตเตอรี่ออกใบรับประกันอายุงานแบตเตอรี่ให้ด้วย คิดดูเองว่าแบตยี่ห้อนั้นจะโด่งดังแค่ไหน หรือลองถามคนขายดูซักนิดว่าสารที่ขายนั้นได้รับการรับรองจากสถาบันไหนในบ้านเราหรือเปล่า ถ้ามีการรับรองว่ายืดอายุงานได้จริงโดยสถาบันในบ้านเราที่ตรวจสอบได้ค่อยจ่ายเงินซื้อมาใช้ครับ
เมื่อใด?? จะถึงเวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์
1.ใช้งานมานานกว่าปีครึ่งถึง 2 ปี
2. ไฟหน้าไม่สว่างเหมือนแต่ก่อน
3. กระจกไฟฟ้าเปิด-ปิด ช้าลงกว่าแต่ก่อน
4.ในตอนเช้าเครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก รอบของเครื่องไม่พอเพียง
5.ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยครั้ง
อาการของแบตเตอรี่รถยนต์และแนวทางการป้องกัน
- ไฟอ่อนหรือไฟหมด (วัดถพ.น้ำกรดทุกช่องต่ำกว่า1.250 / วัดไฟ ไม่ถึง 12 โวลท์)ห้ามเปลี่ยนถ่ายน้ำกรด เปิดไฟทิ้งไว้นาน อัดไฟ ด้วยกระแส 5-10 แอมป์ จนเกิดฟองก๊าซ อย่างเพียงพอ (วัด ถพ.น้ำกรดได้ 1.250 ทุกช่อง / วัดไฟ เต็ม 12 โวลท์)
- ตรวจดู และ ปิดสวิทช์ไฟ ทุกครั้งหลังดับเครื่อง
- ไม่ได้ใช้แบตเตอรี่นาน ติดเครื่องยนต์อย่างน้อย อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง
- ไฟรั่วลงดิน ตรวจระบบไฟฟ้า และสายไฟ ตรวจระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ ทุกๆ 6 เดือน
- ไดนาโม ไดชาร์ทรถยนต์ชำรุด หรือไม่ทำงาน ซ่อมไดนาโม ไดชาร์ทรถ ยนต์ พร้อมกับอัดไฟ แบตเตอรี่
- ขั้วต่อแบตเตอรี่ไม่แน่น หรือชำรุด ถอด ทำความสะอาด ด้วยน้ำร้อน ทาวา สลีน หรือเปลี่ยนขั้วใหม่ ดูแลแบตเตอรี่ ให้สะอาดเสมอ
- กำลังไฟแบตเตอรี่ ไม่พอเพียง อัดไฟ ด้วยกระแส 5-10 แอมป์ จนเกิด ฟองอากาศ อย่างเพียงพอ ลดอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า ในรถยนต์ลง หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ ที่มีกำลังไฟมากขึ้น ตามกำลังเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ ติดตั้ง
- อัดไฟไม่เต็ม อัดไฟใหม่ ตรวจดูฟองก๊าซในระหว่างอัดไฟ (ถพ. 1.250, วัดไฟ 12 โวลท์) แบตเตอรี่เสื่อม เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
ถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ ที่มีกำลังมากขึ้น (สำหรับทำหน้าที่หลายอย่าง)
1. เมื่อมีการเพิ่มปริมาณไฟฟ้าส่องสว่างและติดเครื่องเสียงเพิ่มขึ้น
2. ใช้รถเฉพาะกลางคืนและเปิดไฟส่องสว่างเป็นเวลานานๆๆ
3. เปิดแอร์เป็นเวลานานๆ
4. ใช้รถทั้งกลางวัน-กลางคืน
5. ใช้เครื่องมือสื่อสาร
6. ใช้รถน้อย (จอดรถไว้เป็นเวลาหลายวัน) หรือใช้รถเฉพาะวันหยุด
ถ้ารถของคุณกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่ แนะนำให้นำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อรับการตรวจสภาพ และเลือกใช้แบตเตอรี่แท้จากทางศูนย์บริการตามยี่ห้อรถของท่าน เพื่อจะมั่นใจได้ว่า ได้แบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับรถของคุณ จะได้ไม่มีปัญหาตามมาอีกในภายหลัง
***หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลนี้จะมีสว่นช่วยในการดูแลรถยนต์ของท่านเป็นอย่างดี ขอบคุณครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
แหล่งข้อมูล บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
ขอบคุณนะค่ะสำหรับข้อมูลนี้ ได้ความรู้ดีค่ะ
ตอบลบดีครับแต่ขอถามต่อ ซื้อแบตมาใหม่ใช้ได้สองเดือนไฟหมด.ถอดออกนำไปชาร์ตเอาไส่ใหม่ก็ไม่ติด วัดไฟได้10.8-11.0เป็นเพราะอะไรครับ(ซื้อมาสองครั้งแล้วแบตใหม่แกะกล่องรบกวนตอบทีครับ..ขอบคุณครับ)
ตอบลบผมใช้สปอร์ตไรเดอร์ครับ
ตอบลบคุณcharoon ได้ใช้รถทุกวันมั้ยครับ? ถ้าใช้ ให้ลองดูที่ไดชาจครับว่าเสียหรือมีปัญหาอะไรรึเปล่า ถ้าไม่เสีย ต้องขอถามครับว่าซื้อแบตมาจากที่ศูนย์หรือที่ร้านครับ ถ้าซื้อมาจากศูนย์จะมีการรับประกันให้อยู่ครับ แต่ถ้าซื้อมาจากร้านก็ลองกลับไปถามร้านที่ซื้อมานะครับแล้วเเจ้งอาการไปว่ามันเป็นยังไงครับ
ลบสอบถามหน่อยครับผมใช้ วีโก้ ปี2014 ว่าแบตรี่รุ่นนี้มาจากโรงงานหรือเปล่าและใช่ยี่ห้อเดียวกับยี่ห้อรถหรือเปล่าครับ
ตอบลบสอบถามหน่อยครับผมใช้ วีโก้ ปี2014 ว่าแบตรี่รุ่นนี้มาจากโรงงานหรือเปล่าและใช่ยี่ห้อเดียวกับยี่ห้อรถหรือเปล่าครับ
ตอบลบสามารถเข้าไปดูรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์ได้ที่www.batterymittapap.com
ตอบลบ